หินปูน (CaCO3)

ของแถมที่ไม่พึงประสงค์ ในระบบน้ำในฟาร์ม

หินปูน คืออะไร ? หินปูน หรือ แคลเซี่ยมคาร์บอเนต(CaCO3)คือ คราบหรือตะกรันที่ปรากฏขึ้นตามจุดต่างๆในระบบน้ำ  มีลักษณะเป็นคราบหรือหากสะสมมานานก็จะเกิดเป็นชั้นหนา  อุดตันท่อน้ำ  จุ๊บน้ำ  หรือแม้แต่คลูลิ่งแพดในระบบอีแวปของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

หินปูน เกิดขึ้นได้อย่างไร ? หินปูนที่เกิดในระบบน้ำเกิดจากการที่น้ำฝนซึ่งมีสภาพเป็นกรดซึมผ่านลงไปในชั้นหินปูนที่อยู่ใต้ดินแล้วละลายแร่ธาตุแคลเซี่ยม(Ca+)ออกมาอยู่ในน้ำใต้ดิน  เมื่อเราสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ก็จะมีสารละลายของแคลเซี่ยมปนอยู่ด้วย  และเมื่อสภาวะเหมาะสมคือมีสภาพเป็นด่างก็จะกลายเป็นของแข็ง  ซึ่งก็คือหินปูนหรือแคลเซี่ยมคาร์บอเนต(CaCO3) นั่นเอง

หินปูน มีสร้างปัญหาได้อย่างไร ? แคลเซี่ยม(Ca+)ที่ละลายอยู่ในน้ำถือว่าเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายของคนหรือสัตว์ต้องการ  แต่หากกลายร่างเป็นหินปูนแล้วนับว่าเป็นตัวปัญหาในระบบน้ำอย่างมาก ปัญหาอันเกิดจากหินปูนที่พบเสมอในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น

แก้ปัญหาหินปูนได้อย่างไร ? ปกติการแก้ปัญหาหินปูนสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกัน เช่น

วิธีการ รูปภาพ ข้อดี ข้อด้อย
เครื่องกรองที่มีเรซิ่น
(Softener)
สามารถกรอง
แคลเซี่ยม(Ca+)หรือหินปูน
ด้วยการจับประจุของเรซิ่น
ต้องมีการล้างด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ  หากมีหินปูนมากหรือใช้น้ำมากๆ จะไม่สามารถจัดการได้
เครื่องกรองแบบ RO
(Reverse Osmosis)
กรองได้ดีที่สุด
ด้วยชั้นกรองเมมเบรน
ที่สามารถกรองแร่ธาตุต่างๆ
รวมถึงแคลเซี่ยมได้
ค่าใช้จ่ายสูงมาก  หากปริมาณน้ำมากๆอย่างเช่น การใช้ในฟาร์มปศุสัตว์ไม่น่าจะคุ้ม
โซดาแอช
โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
โซดาแอชนี้จะไปทำปฏิกิริยา
กับสารแคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต แม็กนีเซียมคลอไรด์ และแม็กนีเซียมซัลเฟต
ที่อยู่ภายในน้ำกระด้าง และทำให้เกิดการตกตะกอนละเอียด ซึ่งวิธีนี้จำเป็นต้องใช้ร่วมกับสารส้ม เพื่อให้ตะกอนนั้นรวมกันกลายเป็นก้อนใหญ่และสามารถกรองออกได้
ไม่สะดวก

ทำอย่างไรไม่ให้เกิดหินปูน ? การจะเกิดหินปูนมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ใช้น้ำบาดาล  หากเป็นพื้นที่ที่มีหินปูนเยอะเช่น ใกล้ภูเขาคงหลีกเลี่ยงไม่ได้  วิธีการที่จะไม่ให้เกิดหินปูนขึ้นเลยในระบบน้ำสามารถทำได้โดยการเติมกรดเช่น กรดเกลือ กรดอะซิติก กรดไนตริก เป็นต้น  ลงไปในน้ำนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมีสภาพเป็นด่างซึ่งจะทำให้เกิดหินปูนได้  ทั้งนี้การเติมกรดลงไปในน้ำดื่มของสัตว์ก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงปลอดภัยกับตัวสัตว์มากๆด้วย

มีทางเลือกที่ได้ผลคุ้มค่าและปลอดภัยหรือไม่ ? คลอรีนไดออกไซด์ (ClO2) เป็นทางเลือกใหม่ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำเช่นเดียวกับคลอรีนแต่ไม่ทำให้เกิดหินปูน เนื่องจากการทำงานของคลอรีนไดออกไซด์ไม่เหมือนกับการทำงานของคลอรีน ดังนี้

คลอรีน คลอรีนไดออกไซด์ (ClO2)
ฆ่าเชื้อโดย Sodium/Calcium Hypochlorite:
เป็นกระบวนการ Substitution  แสดงด้วยสมการ
NaClO + H2O -> HOCl + NaOH
NaOH ทำให้น้ำมีความเป็นด่างมากขึ้น ด่างที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดตะกรันมากขึ้น
น้ำเป็นด่าง จึงเกิดตะกรันหินปูนขึ้น
ฆ่าเชื้อโดย Chlorine Dioxide:
เป็นกระบวนการ Oxidation แสดงด้วยสมการ
ClO2  + 1e-  à ClO2-  (Chlorite)
ClO2- + 4e-  à Cl-     (Chloride)
ไม่ได้ทำให้น้ำเป็นด่างมากขึ้น
น้ำไม่เป็นด่าง  จึงไม่เกิดตะกรันหินปูน